ปตท.สผ. ตั้งเป้าหมายความยั่งยืนทั้งระยะสั้นและระยะยาวโดยครอบคลุมมิติการดำเนินงานทั้งด้านธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเปิดเผยผลการดำเนินงานที่สอดคล้องกับประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน (Materiality) ในปี 2566 โดยมีผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายและแผนงานดังต่อไปนี้
ประเด็นสำคัญ: 1. การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานและการปรับตัวของรูปแบบทางธุรกิจ
เป้าหมาย |
ความคืบหน้าในปี 2566 |
ปี 2573
- สร้างอัตราการเติบโตของปริมาณผลิตเฉลี่ยต่อปี (อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีแบบทบต้น หรือ CAGR) ที่ร้อยละ 5
- รักษาอัตราส่วนของปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่พิสูจน์แล้วต่ออัตราการผลิต (R/P) ไม่น้อยกว่า 5 ปี
- รักษาต้นทุนต่อหน่วย (Unit Cost) ให้อยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันได้กับธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
- จัดสรรงบประมาณรายจ่ายลงทุนในธุรกิจใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ร้อยละ 10 ของงบลงทุนรวมในปี 2567-2573
|
- อัตราการเติบโตของปริมาณการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับปี 2565
- อัตราส่วนปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่พิสูจน์แล้วต่ออัตราการผลิต (R/P Ratio หรือ Reserves Life) เท่ากับ 6.2 ปี
- ต้นทุนต่อหน่วยอยู่ที่ 27.65 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ
- รายจ่ายลงทุนให้กับธุรกิจใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานรวมมูลค่า 29.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
|
ประเด็นสำคัญ: 2. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
เป้าหมาย |
ความคืบหน้าในปี 2566 |
- บรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593 ครอบคลุม Scope 1 และ Scope 2 ในธุรกิจ E&P ที่ ปตท.สผ. เป็นผู้ดำเนินการ
- ลดปริมาณความเข้มของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ภายในปี 2573 และร้อยละ 50 ภายในปี 2583 จากปีฐาน 2563
- ปลูก ฟื้นฟู และดูแลผืนป่าจำนวน 256,000 ไร่ ภายในปี 2571
|
- ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสะสมได้มากกว่า 2.4 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เมื่อเทียบกับความเข้มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปีฐาน 2563
- ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2566 ได้มากกว่า 0.9 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (คิดเป็นการลดความเข้มของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ร้อยละ 12.3 จากปีฐาน 2563)
- ปลูก ฟื้นฟู และดูแลผืนป่าจำนวนบนพื้นที่รวม 29,537 ไร่
|
ประเด็นสำคัญ: 3. การพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และการมุ่งสู่ยุคดิจิทัล
เป้าหมาย |
ความคืบหน้าในปี 2566 |
- พัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามกลยุทธ์ของบริษัท 3 ด้าน ได้แก่
- เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายของการดำเนินงานในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
- เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593
- เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับการดำเนินธุรกิจคาร์บอนต่ำ
- มีระบบการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาที่มีประสิทธิภาพ และมีการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาจากผลงานการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องทุกปี
- มีผลงานการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีในการประชุมทางวิชาการและวารสารในระดับนานาชาติ และได้รับรางวัลด้านนวัตกรรมจากผลงานจากการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในองค์กรอย่างต่อเนื่องทุกปี
|
- ความสำเร็จของโครงการในขั้นต้นแบบ 3 โครงการ และ ขั้นการทดสอบนำร่อง 1 โครงการ
- ผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นจากการนำเทคโนโลยีที่พัฒนาสำเร็จไปใช้งานในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม 74 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- มีผลงานสะสมจากการจดทรัพย์สินทางปัญญา 29 สิทธิบัตร 9 ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ และ 63 สิทธิบัตรอยู่ระหว่างการพิจารณาตรวจสอบ
- ตีพิมพ์ผลงานในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติจำนวน 8 เรื่อง และรับรางวัลจากผลงานในการพัฒนาเทคโนโลยีจำนวน 2 รางวัล
|
ประเด็นสำคัญ: 4. ความปลอดภัย มั่นคง และอาชีวอนามัย
เป้าหมาย |
ความคืบหน้าในปี 2566 |
- การเป็นองค์กรที่ปราศจากอุบัติเหตุ
- สถิติอุบัติเหตุที่มีการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน (Lost Time Injury Frequency – LTIF) ของพนักงานและผู้รับเหมา เท่ากับ 0 ครั้งต่อล้านชั่วโมงทำงาน ในปี 2566
- สถิติอุบัติเหตุที่มีการบาดเจ็บ (Total Recordable Injury Rate – TRIR) ของพนักงานและผู้รับเหมา ไม่เกิน 0.33 ครั้งต่อล้านชั่วโมงทำงานในปี 2566
- ระบบการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย ผ่านการรับรองตามมาตรฐานสากล ครอบคลุมกิจกรรมการดำเนินงานทั้งหมดของบริษัท
|
- สถิติอุบัติเหตุที่มีการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน (Lost Time Injury Frequency – LTIF) ของพนักงานและผู้รับเหมาอยู่ที่ 0.10 ครั้งต่อล้านชั่วโมงทำงาน
- สถิติอุบัติเหตุที่มีการบาดเจ็บ (Total Recordable Injury Rate – TRIR) ของพนักงานและผู้รับเหมาอยู่ที่ 0.61 ครั้งต่อล้านชั่วโมงทำงาน
- ระบบการบริหารจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล ISO 45001:2018 ซึ่งครอบคลุมกิจกรรมการดำเนินงานของโครงการผลิตในประเทศเกือบทั้งหมด และฐานสนับสนุนการพัฒนาปิโตรเลียม ยกเว้นโครงการจี 1/61 ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินงานตามมาตรฐานสากลดังกล่าว
|
ประเด็นสำคัญ: 5. การกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
เป้าหมาย |
ความคืบหน้าในปี 2566 |
ปี 2573
- สร้างการปฏิบัติที่เข้มแข็งจากภายในองค์กร โดยมุ่งมั่นในการเป็นองค์กรที่ปลอดการทุจริตและคอร์รัปชันทุกรูปแบบ และมีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้องครบถ้วน
- สามารถระบุความเสี่ยงที่สำคัญ เพื่อกำหนดมาตรการจัดการความเสี่ยงล่วงหน้าก่อนที่จะกลายเป็นปัญหาได้อย่างครบถ้วนเหมาะสม
- มีการปรับปรุงมาตรการการควบคุมภายในตามที่ได้รับการประเมินอย่างครบถ้วน
- ยกระดับ GRC Maturity Level ให้เป็นระดับ 4+
|
- ดำเนินงานตามกลยุทธ์หลัก Smart Assurance และ Mindful GRC ซึ่งเน้นการจัดการกระบวนการกำกับดูแลองค์กรแบบบูรณาการอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เข้มเข็ง และขยายผลแนวปฏิบัติที่ดีด้าน GRC ไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องภายนอก
- พัฒนาระบบ GRC One Digital System อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยในการปฏิบัติงานของผู้บริหารและพนักงานให้สามารถเข้าถึงข้อมูลด้าน GRC ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
- สร้างวัฒนธรรม GRC อย่างต่อเนื่องผ่านการสื่อสารและจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ผู้บริหารและพนักงานทุกคน ทั้งในและต่างประเทศมีความตระหนักรู้ ความเข้าใจหลักการ GRC
- พนักงานร้อยละ 100 ผ่านการอบรมและรับทราบหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมทางธุรกิจ (CG&BE)
- พัฒนาระบบ ONE BCMS เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการระบบความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCM)
- ได้รับการประเมินระดับ GRC Maturity ที่ 3.84/5 (ระดับจัดการแต่ละองค์ประกอบเป็นมาตรฐานเดียวกันถึงระดับบูรณาการ) และจัดทำแผนปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน เพื่อเพิ่มระดับ GRC Maturity ไปสู่ระดับสูงสุดตามเป้าหมายระยะยาวในปี 2573
|
ประเด็นสำคัญ: 6. การจัดการทรัพยากรบุคคล
เป้าหมาย |
ความคืบหน้าในปี 2566 |
- พัฒนาขีดความสามารถของพนักงานทุกระดับในองค์กร รวมถึงโครงการในต่างประเทศ ให้มากกว่าค่าเฉลี่ยปี 2565 เท่ากับ 5.94 เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงขององค์กร
- ประเมินความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน (Engagement Survey) ทุก ๆ 2 ปี
|
- บริษัทฯ มีการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Competency Development Plan หรือ ICDP) ซึ่งช่วยให้ ปตท.สผ. สามารถพัฒนาขีดความสามารถของพนักงานได้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2566 มีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 6.24
- จากผลการสำรวจปี 2565 พนักงานมีระดับความผูกพันต่อองค์กรร้อยละ 74 ซึ่งเป็นอัตราความผูกพันองค์กรที่สูงกว่า Market Average ของบริษัทในประเทศไทย, กลุ่มบริษัท Oil, Gas, Exploration and Production ในประเทศไทย และ กลุ่มบริษัท Oil, Gas and Consumable Fuels ใน APAC อีกทั้งสูงกว่ากลุ่มบริษัทใน Fortune 500 โดยบริษัทได้นำผลการสำรวจดังกล่าวมาจัดทำเป็นแผนพัฒนาความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร เพื่อเป็นเป้าหมายการดำเนินงานสำหรับปี 2566 - 2567
|
ประเด็นสำคัญ: 7. สิทธิมนุษยชน
เป้าหมาย |
ความคืบหน้าในปี 2566 |
- ปราศจากกรณีละเมิดด้านสิทธิมนุษยชนจากกิจกรรมการดำเนินงานโดยตรง
- ประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนประจำปี ครอบคลุมร้อยละ 100 ของพื้นที่ปฏิบัติการทั้งหมด ที่ดำเนินการโดยบริษัท ผู้ร่วมทุน และคู่ค้าสำคัญระดับที่ 1
|
- ไม่พบการกระทำผิดที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดด้านสิทธิมนุษยชน
- จัดทำการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนประจำปี 2566 ครอบคลุมร้อยละ 100 ของพื้นที่ปฏิบัติการทั้งหมด ที่ดำเนินการโดยบริษัท ผู้ร่วมทุน และคู่ค้าสำคัญระดับที่ 1 และมีการเก็บรวบรวมข้อมูลและประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และกำหนดมาตรการติดตามอย่างเป็นระบบ
|
ประเด็นสำคัญ: 8. การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและการปฏิบัติงานเชิงนิเวศเศรษฐกิจ
เป้าหมาย |
ความคืบหน้าในปี 2566 |
- อัตราการหกรั่วไหลของน้ำมันและสารเคมีเป็นศูนย์
- ปราศจากการปล่อยน้ำจากกระบวนการผลิตออกสู่สิ่งแวดล้อม
- หลีกเลี่ยงการดำเนินงานในพื้นที่เสี่ยงต่อภาวะขาดแคลนน้ำ (Water Scarcity) และบริหารจัดการไม่ให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนและผู้ใช้น้ำ
- ระบบการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ผ่านการรับรองตามมาตรฐานสากล ครอบคลุมกิจกรรมการดำเนินงานทั้งหมดของบริษัท
ปี 2573
- นำโครงสร้างหลักมาใช้ใหม่ให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 โดยยังคงสภาพการทำงานที่เหมาะสม ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ
- ปราศจากของเสียอันตรายสู่การฝังกลบภายในปี 2563 ของเสียอุตสาหกรรมสู่การฝังกลบภายในปี 2568 และของเสียทั้งหมดสู่การฝังกลบภายในปี 2573
|
- อัตราการหกรั่วไหลของน้ำมันและสารเคมี 0.21 ตันต่อล้านตันปิโตรเลียมที่ผลิตได้
- ปราศจากการปล่อยน้ำจากกระบวนการผลิตออกสู่สิ่งแวดล้อมเฉพาะโครงการในประเทศไทยเท่านั้น
- ไม่มีโครงการใดตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงสูงต่อการจัดการทรัพยากรน้ำ
- ระบบการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล ISO 14001:2015 ซึ่งครอบคลุมกิจกรรมการดำเนินงานทั้งหมดของบริษัท ยกเว้นโครงการจี 1/61 ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินงานตามมาตรฐานสากลดังกล่าว
- ดำเนินการศึกษาแนวคิดการนำขาของแท่นหลุมผลิตที่มีอยู่กลับไปใช้ใหม่
- ปราศจากของเสียอันตรายและของเสียอุตสาหกรรมที่กำจัดโดยวิธีฝังกลบเฉพาะโครงการในประเทศไทยเท่านั้น
- ของเสียที่สามารถนำมาใช้้ประโยชน์แทนการกำจัด 0.4 ล้านตัน
|
ประเด็นสำคัญ: 9. การส่งมอบคุณค่าเชิงบวกต่อชุมชนและสังคม
เป้าหมาย |
ความคืบหน้าในปี 2566 |
- ระดับมหภาค:
- เพิ่มรายได้ของชุมชนกลุ่มเป้าหมายให้เพิ่มขึ้นร้อยละ 50 ภายในปี 2573 เมื่อเทียบกับก่อน ปตท.สผ. เข้าดำเนินโครงการ
- เพิ่มจำนวนเครือข่ายอนุรักษ์ 16,000 ราย ภายในปี 2573
- ระดับจุลภาค:
- ดำเนินโครงการเพื่อสังคมเพื่อตอบสนองความจำเป็นของชุมชนท้องถิ่น และสร้างโอกาสการจ้างงาน โดยมีเป้าหมายในการสร้างและรักษาระดับความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้เสีย อันจะนำไปสู่การได้รับการสนับสนุนจากชุมชนและสังคมในทุกพื้นที่ปฏิบัติการของ ปตท.สผ.
- ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) ของโครงการเพื่อสังคม ไม่ต่ำกว่า 2:1
|
- ระดับมหภาค:
- สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการของ ปตท.สผ. เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 39 (เทียบกับก่อน ปตท.สผ. เข้าดำเนินโครงการ)
- จัดตั้งเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งรวม 5,795 ราย สนับสนุนการสร้างเครือข่ายอนุรักษ์จำนวน 29 เครือข่ายฯ ในพื้นที่จังหวัดสงขลา ปัตตานี นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระยอง เพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สมุทรปราการ ชลบุรี จันทบุรี และนราธิวาส
- ระดับจุลภาค:
- ดำเนินโครงการเพื่อสังคมกว่า 100 โครงการในพื้นที่ปฏิบัติการทั้งในและต่างประเทศ รักษาระดับความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ปฏิบัติการ สนับสนุนให้บริษัทสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่น โดยไม่มีการคัดค้านต่อต้านจากชุมชน
- ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) ใน 30 โครงการเพื่อสังคมเชิงกลยุทธ์ เฉลี่ยเท่ากับ 3.43:1
|
ประเด็นสำคัญ: 10. การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและการบริการทางระบบนิเวศ
เป้าหมาย |
ความคืบหน้าในปี 2566 |
- หลีกเลี่ยงการดำเนินงานในพื้นที่มรดกโลกตามเกณฑ์ขององค์การยูเนสโก (UNESCO)
- ไม่ก่อให้เกิดความสูญเสียสุทธิต่อความหลากหลายทางชีวภาพ (No-Net Loss) ในพื้นที่คุ้มครองประเภท 1-4 ของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (The International Union for Conservation of Nature – IUCN) ภายในปี 2587
- สร้างมูลค่าเชิงบวก (Net Positive Impact) ต่อความหลากหลายทางชีวภาพและบริการทางระบบนิเวศทางทะเล (Ocean Biodiversity & Ecosystem Services (BES) Value) ในพื้นที่ปฏิบัติการนอกชายฝั่งทั้งหมดภายในปี 2573 เมื่อเทียบกับมูลค่าในปีฐาน 2562
- ไม่ตัดต้นไม้ในพื้นที่ป่าสำหรับโครงการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมทั้งหมด ตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป
|
- ไม่มีโครงการใดตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงสูงด้านความหลากหลายทางชีวภาพหรืออยู่ในพื้นที่มรดกโลก
- พัฒนาและปฏิบัติตามแผนการดำเนินงานในการชดเชยความหลากหลายทางชีวภาพสำหรับโครงการท่อส่งก๊าซบนบกซอติก้า สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่คุ้มครองตามนิยามของ IUCN เพื่อประเมินผลการจัดการโครงการในปัจจุบันและกำหนดแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการบรรลุเป้าหมายที่จะไม่ก่อให้เกิดความสูญเสียสุทธิ
- สร้างมูลค่าเชิงบวกต่อความหลากหลายทางชีวภาพและบริการทางระบบนิเวศทางทะเลในพื้นที่ปฏิบัติการนอกชายฝั่งทั้งหมดร้อยละ 68.0 (เทียบกับปีฐาน 2562)
- ไม่มีการตัดต้นไม้ในการดำเนินงานโครงการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมทั้งหมด
|
ประเด็นสำคัญ: 11. ความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและไซเบอร์และความพร้อมใช้งานของระบบ
เป้าหมาย |
ความคืบหน้าในปี 2566 |
- ไม่มีการสูญเสียจากการจู่โจมทางไซเบอร์ทั้งหมด
- ทดสอบการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ และอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับด้านสารสนเทศ (IT) อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
- โครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศทั้งหมดผ่านการรับรองตามมาตรฐานสากล
|
- ไม่มีกรณีการละเมิดความปลอดภัยของข้อมูล
- ดำเนินการทดสอบความต่อเนื่องธุรกิจจากเหตุการณ์จำลองที่เกิดอุบัติเหตุด้านความมั่นคงและความปลอดภัยทางไซเบอร์ 2 ครั้ง
- บริการจัดการเรื่องความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยใช้มาตรฐาน National Institute of Standards and Technology (NIST) และได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO 27001 ในส่วนของศูนย์รวมข้อมูล (Data Center) ทั้งหมด
|
ประเด็นสำคัญ: 12. การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
เป้าหมาย |
ความคืบหน้าในปี 2566 |
- เพิ่มความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพการดำเนินงานและความโปร่งใส รวมถึงส่งมอบคุณค่าร่วมระหว่างบริษัทและคู่ค้า
- คู่ค้าสำคัญ (Significant Supplier) และคู่ค้าที่มีความเสี่ยงสูงด้านความยั่งยืน ทั้งหมดได้รับการตรวจประเมินความเสี่ยงด้าน ESG ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
|
- บริษัทคู่ค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศกว่า 100 บริษัทเข้าร่วมงานประชุม Supplier Day
- จัดหาสินค้าและบริการระดับท้องถิ่น คิดเป็นมูลค่ากว่า 1,818 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2565 กว่าร้อยละ 30
- จัดหาสินค้าและบริหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คิดเป็นมูลค่า 955 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2565 กว่าร้อยละ 68
- คู่ค้าสำคัญ รวมถึงคู่ค้าที่มีความเสี่ยงสูงด้านความยั่งยืน ได้รับการตรวจประเมินความเสี่ยงด้าน ESGในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ร้อยละ 100
|
ประเด็นสำคัญ: 13. การบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสีย
เป้าหมาย |
ความคืบหน้าในปี 2566 |
- รักษาระดับความสัมพันธ์อันดีผ่านการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสียที่เหมาะสม เพื่อตอบสนองต่อความคาดหวังต่าง ๆ
- ระดับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียต่อองค์กรอยู่ที่ระดับการสนับสนุนและระดับการเป็นตัวแทน ตามความเหมาะสมกับผู้มีส่วนได้เสียในแต่ละกลุ่ม
|
- ประเมินและทบทวนประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของบริษัท โดยรวบรวมประเด็นจากผู้มีส่วนได้เสีย และกำหนดเป็นกลยุทธ์องค์กร
- กำหนดกลยุทธ์และเป้าหมายด้านการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสียในระดับองค์กร
|