ด้านความต้องการพื้นฐาน

การพัฒนาความจำเป็นพื้นฐานของสังคมเป็นการดำเนินงานที่สอดคล้อง และสนับสนุนเป้าหมาย UN SDG 3 ผ่านการดำเนินโครงการที่เป็นการสนับสนุนการสร้างทักษะอาชีพ การสร้างงานสร้างรายได้ และการพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ปฏิบัติการ

โดยมีการดำเนินโครงการที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1
สุขภาพ

เช่น โครงการพัฒนาโรงพยาบาลลานกระบือ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และโรงพยาบาลสงขลา โครงการรถรักษ์สุขภาพ โครงการพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โครงการพยาบาลชุมชน และโครงการรักสุขภาพในจังหวัดสงขลา รวมถึงโครงการส่งเสริมสุขภาพพื้นฐานในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

2
อาชีพและการส่งเสริมรายได้ ขจัดความยากจน

เช่น โครงการส่งเสริมเกษตรกรรมการเลี้ยงและเพาะพันธุ์แพะเบงกอลและปลูกหญ้าเนเปียร์ โครงการพัฒนาเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.) เพื่อการเลี้ยงสัตว์และสร้างอาชีพ โครงการฟาร์มขนาดเล็ก โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตรกรและชุมชน โครงการเกษตรแปลงรวมและ โครงการวิสาหกิจเพื่อสังคม ร้านกาแฟอเมซอนเพื่อการสร้างโอกาสทางอาชีพแก่ทหารผ่านศึกและครอบครัว โครงการศูนย์การเรียนรู้เพาะฟักสัตว์น้ำเศรษฐกิจ รวมไปถึง โครงการพัฒนาศักยภาพแรงงานในสาธารณรัฐสหภาพเมียนมา และโครงการวิสาหกิจชุมชน Sobis Pammase ในสาธารณรัฐอินโดนีเซีย เป็นต้น

ตัวชี้วัดและผลการดำเนินงานของโครงการเพื่อสังคมภายใต้แนวคิดด้านความต้องการพื้นฐาน สามารถแสดงได้จากโครงการตัวอย่างต่อไปนี้

การดำเนินโครงการที่สนองตอบต่อความจำเป็นพื้นฐานของผู้มีส่วนได้เสีย ตามแนวทาง UN SDGs ผ่านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากชุมชน ส่วนราชการ และองค์กรในท้องถิ่น ตัวอย่างเช่น

  • โครงการวิสาหกิจเพื่อสังคม Sobis Pammase ในจังหวัดสุลาเวสี โดยการสนับสนุนการทำฟาร์มกุ้ง เป็ด ไก่ และผึ้ง เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน เป็นโครงการที่ ปตท.สผ. โครงการอินโดนีเซียดำเนินงานต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2561 ผลกำไรจากโครงการวิสาหกิจเพื่อสังคมได้มีการแบ่งปันให้กับชุมชนที่ดำเนินโครงการและใช้เป็นทุนในการดำเนินโครงการศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน 15 แห่ง ที่โครงการอินโดนีเซียได้มีการก่อตั้งก่อนหน้านี้เพื่อให้สามารถเลี้ยงตัวเองได้
  • โครงการพัฒนาศักยภาพแรงงานในจังหวัดสงขลา ดำเนินการร่วมกับสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 12 สงขลา เพื่อสนับสนุนการผลิตและพัฒนาแรงงานที่มีทักษะความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และได้มาตรฐานสากลเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงาน เช่น สาขาการเชื่อมและตัดโลหะใต้น้ำด้วยไฟฟ้า เพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียม อีกทั้งยังสามารถเพิ่มรายได้แรงงานให้สูงขึ้นและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับแรงงานในพื้นที่