โครงการศูนย์การเรียนรู้เพาะฟักสัตว์น้ำเศรษฐกิจ

โครงการศูนย์การเรียนรู้เพาะฟักสัตว์น้ำเศรษฐกิจ เป็นโครงการที่ขยายผลมาจากศูนย์การเรียนรู้เพาะฟักลูกปูในจังหวัดสงขลา โดยการร่วมมือกับภาครัฐ ได้แก่ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมถึงหน่วยงานปกครองท้องถิ่น และชุมชน ขยายศูนย์การเรียนรู้เพาะฟักสัตว์น้ำเศรษฐกิจเพื่อเป็นแหล่งถ่ายทอดองค์ความรู้และขยายพันธุ์สัตว์น้ำ รวมทั้งส่งเสริมการทำประมงเชิงอนุรักษ์ สร้างจิตสำนึกให้กับชุมชนในพื้นที่ 17 จังหวัดรอบอ่าวไทย และสร้างเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์และวิถีประมงชายฝั่งอย่างยั่งยืน โดยได้นำเทคโนโลยีเข้าไปเสริมกับการพัฒนาองค์ความรู้ของกลุ่มประมงพื้นบ้านอย่างเป็นรูปธรรม


จนถึงปี 2566 ปตท.สผ. ได้ขยายผลโครงการศูนย์การเรียนรู้เพาะฟักสัตว์น้ำเศรษฐกิจ โดยก่อตั้งศูนย์ฯ รวมจำนวน 12 แห่ง ใน 11 จังหวัดรอบอ่าวไทย ได้แก่ จังหวัดสงขลา ปัตตานี นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม ชุมพร ระยอง จันทบุรี และชลบุรี ทั้งนี้ ในปี 2568 ปตท.สผ. มีแผนก่อตั้งศูนย์ฯ รวมจำนวน 19 แห่ง ครอบคลุม 17 จังหวัดรอบอ่าวไทย

นอกจากนี้ ยังได้สนับสนุนการสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่ก่อตั้งศูนย์ฯ มีสมาชิกจำนวนทั้งสิ้น 4,621 คน พร้อมทั้งสร้างแนวเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลและบ้านปลา จำนวน 29 แห่ง เกิดแนวเขตอนุรักษ์พื้นที่ 14.8 ตารางกิโลเมตร และยังเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการเพาะฟักลูกปูและสัตว์น้ำเศรษฐกิจให้แก่ผู้สนใจ โดยมีผู้เข้าเยี่ยมชมศูนย์ฯ จำนวนกว่า 70,000 คน รายได้เฉลี่ยของชุมชนชาวประมงเพิ่มเป็น 80,768 บาท หรือ 2,485 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อครัวเรือนต่อปี และโครงการยังได้มีการปล่อยลูกปูและลูกพันธุ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจกลับสู่ธรรมชาติ 27,900 ล้านตัว

ปตท.สผ. ได้ทำการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมของโครงการ โดยนำผลลัพธ์ทางสังคมมาคำนวณเปรียบเทียบกับมูลค่าทางการเงินของต้นทุนที่ใช้ไปในการดำเนินโครงการโดยผลตอบแทนทางสังคมของโครงการ (SROI) มีค่าเท่ากับ 4.13 : 1

เกี่ยวกับศูนย์การเรียนรู้เพาะฟักลูกปู

แผ่นพับประมงยั่งยืน คืนสมดุลสู่ท้องทะเล
แผ่นพับเพาะฟักลูกปู บ้านหัวเขา
โลกงดงาม สังคมยั่งยืน